หลักการทำงานของเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าร์เซลล์)
หลักการทำงานเบื้องต้นของโซล่าร์เซลล์
การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง เมื่อพลังงานจากแสงอาทิตย์ ตกกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น และสามารถนำกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้
จุดเด่นของการใช้โซล่าร์เซลล์
- เป็นการลงทุนเพื่อลดค่าไฟในระดับอุตสาหกรรมและระดับครัวเรือน
- ใช้พลังงานจากธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ ไม่ก่อปฏิกิริยาที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
- เป็นการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้อย่างคุ้มค่าและมีอยู่อย่างไม่จำกัด
- ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ รวมถึงไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
- ไม่เกิดเสียงและไม่มีการเคลื่อนไหวขณะใช้งาน จึงไม่เกิดมลภาวะด้านเสียง
- เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และไม่มีชิ้นส่วนใดที่มีการเคลื่อนไหวขณะทำงาน จึงเกิดการสึกหรอน้อย
- ต้องการการบำรุงรักษาน้อยและมีอายุการใช้งานยืนยาว
- เนื่องจากมีลักษณะเป็นโมดูล จึงสามารถประกอบได้ตามขนาดที่ต้องการ
ส่วนประกอบหลักของระบบโซล่าร์เซลล์
- Photovoltaic : PV หรือที่เรียกว่า แผงโซล่าเซลล์ ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (มีขั้ว บวก ลบ เหมือนไฟฟ้าจากถ่านไฟฉาย) โดยในปัจจุบันนี้ นิยมใช้แผงโซล่าเซลล์ ประเภท Mono Half-cell Crystalline ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้า ประมาณ 450 - 600 W ต่อแผง ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีการผลิตแผงโซล่าร์เซลล์ ของแต่ละยี่ห้อ
- Inverter : อินเวอร์เตอร์ ทำหน้าที่แปลงพลังงานกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง-(DC) ให้เป็นเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่สารมารถนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้
- โหลด (Load) : อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านทั่วๆไป
- ระบบจำหน่ายไฟฟ้า ของ กฟน. หรือ กฟภ
Comments